นักกีฬามวยสากล ของไทย มีดีอย่างไรในเวทีโลก

นักกีฬามวยสากล ของไทย มีดีอย่างไรในเวทีโลก

     นักกีฬามวยสากล จริงอยู่ที่ว่าการชกมวยไทยนั้นเป็นมวยที่มีมาอย่างยาวนาน และคนไทยเองก็เป็นเจ้าของแชมป์มวยไทยต่าง ๆ ที่ยังไม่มีชาวต่างชาติคนได้สามารถแย่งชิงเอาไปได้ แต่ทว่า เมื่อคนไทยหันมาชกมวยสากล กลับต้องพบกับความยากลำบากทั้งที่การแข่งขันมวยสากลก็แทบจะไม่ได้แตกต่างจากการชกทั่วไปของมวยไทย อีกทั้งประเทศไทยยังมีเวทีการแข่งขันมวยอยู่อย่างสม่ำเสมอ นั่นน่าจะเป็นเหตุผลที่ทำให้ไทยเบียดตำแหน่งในเวทีโลกอย่างง่ายดาย แต่ทว่าความจริงแล้วกลับไม่เป็นเช่นนั้นแม้แต่น้อย เพราะมวยสากลนั้นเน้นการใช้หมัดและการหลบหลีกด้วยการโยกและบิดตัว แต่มวยไทยไม่นิยมที่จะหลบอาวุธคู่ต่อสู้ แต่ใช้การปัดป้องหรือรับแรงปะทะ นักกีฬามวยสากล ของไทยที่เคยผ่านการชกแบบมวยไทยมาก่อนจึงติดนิสัยที่จะรับแรงปะทะเป็นจำนวนมาก ทำให้การทำงานในเวทีโลกนั้นเป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะใช้ได้เพียงหมัด และไม่สามารถหลบอาวุธตามแบบเทคนิคของมวยสากลได้ จนต่างชาติมองว่านักชกไทยก็เป็นแค่นักชกธรรมดาที่ไม่ได้มีความโดดเด่นอะไรเมื่อเทียบกับมวยไทย

     แต่ทว่าเมื่อคนไทยไทยได้เรียนรู้การต่อสู้แบบมวยสากลอย่างแท้จริง ก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับเทคนิคได้อย่างรวดเร็ว และก็มีนักชกไทยจำนวนไม่น้อยที่สามารถสร้างตนเองให้มีชื่อเสียงในรายการต่าง ๆ และในเวทีชิงแชมป์โลกได้ แต่ทว่า แม้ว่าจะก้าวผ่านอุปสรรคเรื่องความแตกต่างของเทคนิคมาได้ แต่อีกหนึ่งขวากหนามใหญ่ของนักชกไทยก็คือ รูปร่าง รูปร่างแม้ว่าจะไม่ได้มีความสำคัญ เพราะมีการแบ่งรุ่นการชก แต่ทว่าคนไทยก็จะสามารชกได้ในรุ่นพิกัดที่ใกล้เคียงกันเท่านั้น และไม่สามารถขึ้นไปในอันดับหรือรุ่นที่ใหญ่กว่าได้ ซึ่งการชกในรุ่นใหม่ที่นักมวยแต่ละคนมีรูปร่างปานยักษ์ ที่ได้รับความนิยมในยุโรป กลับไม่เคยมีนักชกไทยคนใดสามารถทำเช่นได้เลย รูปร่างจึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ต่อการท้าชิงแชมป์ในดินแดนตะวันตก

นักกีฬามวยสากล ของไทย มีดีอย่างไรในเวทีโลก

นักกีฬามวยสากล ของไทย ทำไมเลือก โอลิมปิก มากกว่ามวยสากลโลก

     นักกีฬามวยสากลของไทย ถือว่ามีจำนวนไม่น้อยที่สามารถทำผลงานได้อย่างดีเยี่ยม และได้เป็นส่วนหนึ่งในแข่งขันกีฬาโอลิมปิค แต่ทว่าทำไมนักมวยเหล่านักจึงเลือกที่จะเล่นแค่เพียงมวยสากลสมัครเล่น แต่ไม่เคยที่จะไต่เต่าไปจนถึงระดับมวยสากลอาชีพ

แม้ว่าทั้งการแข่งขันทั้งสองประเภทนี้จะดูมีความคล้ายคลึงกัน แต่ทว่า ก็ไม่ใช่โดยสิ้นเชิง เพราะว่า การชกในระดับมวยสากลสมัครเล่นนั้น เป็นการชกเพียง 3 ยก ยกละ 3 นาทีเท่านั้น ทำให้การต่อสู้จึงเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และอาศัยจังหวัดฝีมือซึ่งไม่ได้เน้นให้เกิดความรุนแรงในการชก ซึ่งแตกต่างกันมวยสากลอาชีพที่ต้องชกถึง 12 ยก ยกละ 3 นาที ทำให้นักมวยต้องอาศัยจังหวะเพื่อจะพยายามปิดบัญชี หรือชกเพื่อให้อยู่ครบยกที่ 12 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ความแตกต่างระหว่างชนิดกีฬาเป็นเรื่องที่นักชกไทยเหล่านั้นไม่สามารถทำได้ เพราะการยืนระยะที่ยาวกว่าต้องอาศัยพละกำลังและความแข่งแกร่งของร่างกายที่มากกว่า การปะทะด้วยอาวุธหนักจึงจำเป็นที่จะต้องเจออยู่ตลอดการชกมวยสากล

มวยสากล คือ มวยที่นอกจากจะใช้พละกำลังแล้วยังต้องใช้สมองในการเข้าทำ ท่านที่ชมการแข่งขันจะได้เห็นการแก้เกมในแต่ละยกของทีมงานอย่างสนุก ทั้งการแลกหมัด ที่หนักดังค้นปอนด์ และการหลบหลีกเพียงเสียววิก็อาจพลิกโอกาสชนะได้

มวยสากล ประวัติ ความเป็นมาโดยย่อ เป็นกีฬาที่มีมาอย่างยาวนานทั้งแต่สมัยยุคแรกของกีฬาโอลิมปิคโบราณ เป็นการสู้ด้วยสองหมัดของนักชกใน 12 ยก เพื่อตัดสินแพ้ชนะ เป็นการดัดแปลงมากจากการต่อสู้ในสนามรบของทหารที่บ้าคลั่ง เพียงแต่เปลี่ยนจากสมรภูมิมาเป็นเวทีการแข่งขัน

รายชื่อนักมวยสากลไทย ที่สามารถทำให้ชาวต่างรู้จัก

     นักมวยสากล ประวัติศาสตร์ไทยที่เคยถูกบันทึกไว้ว่าสามารถเป็นนักชกอาชีพในกีฬามวยสากล คือ ประมวลศักดิ์ โพธิ์สุวรรณ และ พงษ์สิทธิ์ เวียงวิเศษ โดยนักกีฬามวยสากลทั้งสองท่านนี้ สามารถคว้าแชมป์ในรายการการแข่งขันมวยสากลอาชีพ แชมป์เอเชียลเกม และอื่น ๆ จึงนับว่าเป็นนักมวยสากลอาชีพแท้ที่หาได้ยากยิ่งในยุคสมัยปัจจุบัน