มวยไทย การไหวครู ท่าดูดัสกร

มวยไทย การไหวครู ท่าดูดัสกร 

ท่าดูดัสกร สำหรับท่าไหว้ครูในท่านี้หลายคนอาจจะสงสัยว่าลักษณะท่าทางจะเป็นอย่างไร ถ้าพูดให้เข้าใจในภาษาบ้าน ๆก็คือการดูเชิงมวยนั่นเอง เป็นลักษณะของท่าทางการดูเชิงมวย ท่านี้เริ่มต้นด้วยการยืนลักษณะของการตั้งการ์ดพร้อมชก แล้วย่อเข่าลงมาเล็กน้อย โยกลำตัวซ้ายขวาเล็กน้อยเหมือนกับการดูเชิงคู่ต่อสู้ หลังจากนั้นก้าวเท้าขวาไปทางด้านหน้าแล้วก้าวเท้าซ้ายยกไปลักษณะเหมือนกับคล้ายกับการตั้งฉาก แต่จะเป็นลักษณะยื่นขาด้านล่างออกอีกเล็กน้อย เหมือนกับการเตรียมป้องกันตัวหรือพร้อมที่จะถีบคู่ต่อสู้ มือยังคงอยู่ในลักษณะของการตั้งการ์ดอยู่ตลอดเวลา หมุนวนมือซ้ายขวา แล้วค้างอยู่ในท่านี้ไว้ประมาณ 3 วินาที แล้วก็สลับการทำท่าเดิม เปลี่ยนใช้ขาทางด้านซ้าย แล้วใช้ขาขวายกขึ้นสลับกัน

ท่าดูดัสกร ถ้าจะเปรียบเทียบไปแล้วก็คล้ายกับการดูเชิงมวยของคู่ต่อสู้ เมื่อนำมาใช้ในการต่อสู้ลักษณะคือการสร้างการเตรียมพร้อมที่จะบุกหรือว่าเตรียมพร้อมที่จะรับแรงกระแทกจากคู่ต่อสู้นั่นเอง การไหว้ครูในแต่ละอย่างนั้นจะมีการผสมผสานหรือเรื่องราวของการชกมวยอย่างชัดเจนอยู่ในการไหว้ด้วย ท่าดูดัสกร ถ้าจะเปรียบเทียบไปแล้วก็เป็นลักษณะของการ ดูทิศทางบนเวที สมัยก่อนนั้นการชกมวยไม่ได้มีเวทีมวยที่มีรูปแบบสวยงามอย่างปัจจุบันนี้ จะเป็นการชกมวยบนพื้นดิน การไหว้ครูใช้เวลานานเท่าไหร่ถือว่าเป็นการดีเท่านั้น เพราะถ้าไหว้ครูแต่ละท่าจะเป็นการบ่งบอกถึงการเตรียมพร้อมของตัวเราเอง พร้อมทั้งการสำรวจเวทีทุกมุมทุกทิศทาง การชกมวยในยุคเก่ายุคก่อน แล้วเราจะต้องเดินเท้าเปล่าบนดิน ถ้าเกิดว่าเราไม่สำรวจให้ดี ไปสะดุดกับก้อนหินก้อนกรวด ก็เป็นไปได้ที่เราจะโดนคู่ต่อสู้นั้นบุกในจังหวะเดียวกันแล้วก็พ่ายแพ้เพียงแค่เสี้ยววินาที

การไหว้ครูใน ท่าดูดัสกร ก็เปรียบเสมือนการดูรอบเวทีอีกหนึ่งช่องทางด้วยเช่นกัน การไหว้ครูในลักษณะแบบนี้จะเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังจากที่เราได้ยืดกล้ามเนื้อในการไหว้ครูในท่านั่ง ซึ่งเป็นการยืดกล้ามเนื้อประมาณ 3-4 ท่าทั้งหมดที่ผ่านมา การเดินลักษณะแบบนี้คือการผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้เตรียมพร้อม สิ่งที่สามารถจะข่มขู่และข่มขวัญคู่ต่อสู้ได้ดีคือเรื่องของสายตา การใช้สายตาถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ถ้าเราสามารถใช้ดวงตาในการกดดันคู่ต่อสู้ได้ก็ถือว่ามีชัยชนะไปเกินกว่าครึ่งแล้ว กีฬามวยจึงไม่ใช่เป็นเพียงแค่กีฬาการใช้แรงในการฟาดฟันกัน แต่เรื่องเทคนิคและจังหวะก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยด้วยเช่นกัน