แม่ไม้มวยไทย : สลับฟันปลา ท่าแรกเริ่มของ แม่ไม้มวยไทย

แม่ไม้มวยไทย : สลับฟันปลา

สลับฟันปลา ท่าแรกเริ่มของ แม่ไม้มวยไทย

แม่ไม้มวยไทยมีหลากหลายท่า ถือว่าเป็นท่วงท่าของการใช้ศิลปะการต่อสู้ที่สำคัญและสวยงาม ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือท่า “สลับฟันปลา” เป็นท่าเริ่มต้นของ แม่ไม้มวยไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา 

สลับฟันปลา ท่วงท่าแม่ไม้มวยไทยที่เคลื่อนไหวได้อย่างน่าทึ่ง

โดยพื้นฐานของแม่ไม้มวยไทย จะผสมผสานไปด้วยการใช้ หมัด เท้า เข่า ศอก รวมไปถึงทักษะการหลบหลีก ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ท่าแม่ไม้มวยไทยเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย สลับฟันปลา นั้นถือเป็นเป็นท่าแม่ไม้หลักหรือแม่ไม้ครูเบื้องต้น ที่มีการเคลื่อนไหวที่น่าทึ่ง ใช้รับและหลบหมัดของคู่ต่อสู้ โดยหลบออกวงนอกลำแขนของคู่ต่อสู้ 

วิธีการใช้ท่าสลับฟันปลา

มวยไทย ประกอบไปด้วยฝ่ายรุกและฝ่ายรับ ในท่าสลับฟันปลานั้น เป็นการต่อสู้ตั้งรับวงนอก โดยฝ่ายรุกชกด้วยหมัดด้านซ้ายตรง พร้อมทั้งเท้าซ้ายขยับไปข้างหน้า เพื่อจะชกที่บริเวณใบหน้าของฝ่ายรับ ในขณะเดียวกันฝ่ายรับก็ก้าวเท้าทแยงเฉียงขวาหลบไปทางกึ่งขวา 1 ก้าว พร้อมทั้งโน้มเอนตัวไปทางขวาประมาณ 60 องศา ทิ้งน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา โดยจะงอขาขวาไว้เล็กน้อย ศีรษะและลำตัวจะต้องหลบออกจากวงนอกของหมัดฝ่ายรุก จากนั้นก็ใช้มือขวาจับกำคว่ำที่แขนท่อนบนของฝ่ายรุก และมือซ้ายจับกำหงายที่ข้อมือของฝ่ายรุก ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับท่าหักแขน การเคลื่อนไหวร่างกายกับแขนของท่านี้มีลักษณะสลับฟันปลา ซึ่งเป็นการป้องกันก่อนที่จะหาโอกาสตอบโต้ในจังหวะที่เหมาะสมต่อไป