ประวัติมวยไทย

ประวัติมวยไทย

ประวัติความเป็นมาของมวยไทย(MUAYTHAI STORY)

        มวยไทย นับว่าเป็นศิลปะอีกแขนงหนึ่งทางด้านการต่อสู้ ที่เก่าแก่และเคียงคู่ชาติของไทยเรามาช้านาน ตั้งแต่อดีตกาลนานมาที่บรรพบุรุษของเราได้คิดค้นยุทธวิธีแห่งการต่อสู้ และได้นำศิลปะสิ่งนี้เข้าต่อสู้และกอบกู้เอกราช จนพวกเราได้ความเป็นชาติไทยนับมาถึงปัจจุบันนี้ ศิลปะการต่อสู้ของไทยที่เรียกว่ามวยไทยนั้น ได้มีประวัติและความเป็นมารวมถึงวิวัฒนาการอย่างไรและมีบทบาทสำคัญแค่ไหน ในแต่ละยุคสมัยของการปกครองและวัฒนธรรมไทยของเราไปดูกัน..

 มวยไทยสมัยสุโขทัย

        กล่าวถึงเมื่อ พ.ศ.1781 เป็นต้นมาจนถึง พ.ศ.1951 ซึ่งมีการกล่าวว่ามวยไทยได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างจริงจัง ซึ่งมีหลักฐานได้จารึกบอกไว้ว่า ช่วงรัชสมัยนั้นเป็นยุคแห่งการล่าอาณานิคม ดังนั้นการต่อสู้หรือการทำสงครามจึงเกิดขึ้นบ่อยมาก พัฒนาการทางการรบจึงจำเป็นต้องมีขึ้นอยู่ทุกช่วงเวลา เพื่อให้ไม่เสียเปรียบทางเชิงสงครามกับอริศัตรู

        ดังนั้นซึ่งก็เป็นยุคแห่งการใช้อาวุธเครื่องทุ่นแรงอย่างเช่น ธนู,หอก,ดาบ,โล่ ในระยะเวลามากกว่า 140 ปี ที่ได้ถูกบันทึกจากฐานข้อมูลไว้ว่า นอกจากการอาศัยอาวุธดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว สิ่งสำคัญมากๆ สำหรับทหารกล้าผู้เป็นนักรบนักต่อสู้ในยุคนั้นจะต้องมีความแข็งแกร่งของร่างกายและอวัยวะทุกส่วนก็จำเป็นต้องนำมาประยุกต์ใช้เป็นอาวุธได้ทุกท่วงท่า เช่น หมัด,เท้า,เข่า,ศอก และใช้ประจันข้าศึกได้ในทุกระยะ แม้กระทั่งระยะไกลหรือประชิดตัวด้วยการ ต่อย,เตะ,ถีบ,หมัด,เข่า,ศอก นี่คือวิถีและแนวทางของ ศิลปะการต่อสู้ของไทย 

        สมัยสุโขทัยนั้นในขณะที่มีการว่างเว้นจากสงคราม เหล่าชายหนุ่มฉกรรจ์ทั้งหลายมักจะรวมตัวกันเพื่อฝึกฝนศิลปะการต่อสู้อย่างมวยไทย หรือบ้างก็เข้าไปหาครูมวยตามสำนักต่างๆ ซึ่งสมัยนั้นจะมีสำนักที่มีชื่อเสียงอยู่ไม่กี่แห่ง เช่น สำนักสมอคอน อยู่ที่ลพบุรี อีกอย่างในยุคนั้นมักจะมีการสอนและฝึกมวยกันอยู่ตามลานวัดต่างๆ บางข้อมูลก็เคยกล่าวว่าอาจมีทั้งพระภิกษุที่เป็นครูสอนมวยแก่ชายหนุ่ม และชายหนุ่มก็คงเป็นเด็กวัดในที่แห่งนั้น

แต่ด้วยที่มีเหตุสงครามเกิดขึ้นบ่อยๆ ในยุคนั้น พระสงฆ์ท่านจึงสอนมวยเพื่อการป้องกันตัวและประเทศเท่านั้นไม่ให้นำไปรังแกคนอื่น อีกอย่างครูมวยสมัยนั้นจะเน้นสอนศีลธรรมแก่ลูกศิษย์ อันเป็นการสอนควบคู่กันไปกับการต่อสู้ ในยุคนั้นองค์กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยอย่างพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ให้ความสำคัญกับมวยไทยเป็นอย่างมาก พระองค์ได้ส่งองค์ชายร่วงที่ 2 ไปศึกษามวยไทยยังสำนักใหญ่คือ สำนักสมอคอน จากนั้นในปี พ.ศ.1818-1860 มีการจารึกจากพ่อขุนรามคำแหง ที่พระองค์ได้กล่าวถึงตำราที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาจนถึงปัจจุบันนั่นคือ ตำราพิชัยดาบหัก

ประวัติมวยไทย
ประวัติมวยไทย

 มวยไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา

        เมื่อปี พ.ศ. 1988-2310 นับเป็นเวลายาวนานถึง 417 ของสมัยยุคกรุงศรีอยุธยา และก็เช่นกันในสมัยนั้นมีการต่อสู้ทำสงครามกันระหว่างประเทศใกล้เคียงอยู่บ่อยครั้ง เช่น พม่า และ เขมร ด้วยเหตุนี้นอกจากการต่อสู้ด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆเช่น หอก,ดาบ,ธนู ที่มีในยุคนั้นแล้ว การต่อสู้ด้วยมือเปล่าในแบบฉบับของศิลปะการป้องกันของไทย เช่น มวยไทยก็มีด้วย และจึงจำเป็นต้องมีการฝึกฝนกันอย่างเอาจริงเอาจัง เพื่อให้เกิดความแข็งแกร่งเช่นกันในยุคนั้น

  • มวยไทยยุคสมัยพระนเรศวรมหาราช

        เป็นยุคที่พระองค์ทรงได้ฝึกฝนชายหนุ่มจากการได้คัดเลือกผู้ที่มีฝีมือทางการต่อสู้ทางด้านมวยไทย และมาส่งเสริมให้แข็งแกร่งและชำนาญขึ้นจนได้กลายเป็นกองกำลังเสือป่าในคราวต่อมา

  • มวยไทยยุคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

        ยุคนี้เป็นช่วงกาลเวลาที่สงบสุขจากภัยสงครามมาก ดังนั้นศิลปะการต่อสู้ของไทย อย่างมวยไทยเลยกลายเป็นการแสดงและกีฬาซะส่วนใหญ่ในกาลนั้น ซึ่งได้เกิดการแข่งขันมวยคาดเชือกกันขึ้นอย่างจริงจังอีกทีในยุคนั้นนั่นเอง

  • ยุคสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ

        เป็นช่วงยุคที่มวยไทยเกิดความนิยิมเพิ่มขึ้นอีกเป็นอย่างมากเช่นกัน เพราะพระเจ้าเสือ พระองค์ทรงมีพระปรีชาทางด้านมวยไทยเป็นอย่างมาก อีกทั้งพระองค์ยังทรงโปรดปรานการต่อสู้แบบมวยไทยยิ่งนัก จึงได้มีการจัดการฝึกฝนและแข่งขันมวยไทยขึ้น อีกทั้งพระองค์ก็ยังเข้าร่วมการแข่งขันนั้นด้วย

  • กำเนิดนายขนมต้มและพระยาพิชัยดาบหัก

        ในสมัยแห่งช่วงตอนปลายของกรุงศรีอยุธยา  จากการที่กรุงศรีได้แตกในครั้งนั้น คนไทยต่างก็ถูกต้อนไปเป็นเชลยจำนวนมาก รวมทั้งนายขนมต้มและครอบครัว และในปี พ.ศ.2317 เจ้าอังวะแห่งเมืองย่างกุ้ง ได้จัดงานสมโภชน์ขึ้นและมีการแข่งขันมวยไทย ซึ่งนี่ก็เป็นอีกประวัติศาตร์ที่ ศิลปะมวยไทย ของเราได้ไปประจักษ์ต่อถิ่นอริศัตรู ซึ่งในวันนั้นนายขนมต้มนักมวยไทยจากสยามเพียงคนเดียว ที่ได้ล้มมวยพม่าตั้งสิบคน จนเป็นที่กล่าวขานมาจนถึง ณ ปัจจุบันนี้ ส่วนพระยาพิชัยดาบหัก(นามเดิมชื่อจ้อย)ก็เช่นกัน ท่านเป็นผู้ที่ชำนาญและเก่งทางด้านดาบและมวยไทยเป็นอย่างมาก ท่านเรียนมวยที่สำนักครูเที่ยง ความกล้าหาญของท่านเป็นที่จดจำด้วยการบุกฝ่าตีข้าศึกอย่างกล้าหาญจนดาบคู่ใจของท่านต้องปลายหักตามฉายาของท่าน เรื่องราวนี้ถูกจารึกในปี พ.ศ.2284-2325

 มวยไทยยุคกรุงธนบุรี

        เป็นช่วงหลังจากที่มีการกอบกู้เอกราชกลับมาได้ในปี พ.ศ.2310-2324 นับเป็นเวลา 14 ปี และในสมัยนี้ได้มีการฝึกมวยไทยอย่างเอาจริงเอาจังอีกครั้ง ขณะนั้นต่างก็มีนักมวยฝีมือดีอย่างมากมาย และในยุคนั้นเองได้มีการจัดการแข่งขันชกมวยระหว่างสำนักเกิดขึ้น โดยใช้สังเวียนลานดินเป็นที่ประลองกัน กติกาการชกไม่เหมือนปัจจุบันคือชกจนกว่าอีกฝ่ายจะขอยอมแพ้เอง

ประวัติมวยไทย

 มวยไทยยุคกรุงธนบุรี

        เป็นช่วงหลังจากที่มีการกอบกู้เอกราชกลับมาได้ในปี พ.ศ.2310-2324 นับเป็นเวลา 14 ปี และในสมัยนี้ได้มีการฝึกมวยไทยอย่างเอาจริงเอาจังอีกครั้ง ขณะนั้นต่างก็มีนักมวยฝีมือดีอย่างมากมาย และในยุคนั้นเองได้มีการจัดการแข่งขันชกมวยระหว่างสำนักเกิดขึ้น โดยใช้สังเวียนลานดินเป็นที่ประลองกัน กติกาการชกไม่เหมือนปัจจุบันคือชกจนกว่าอีกฝ่ายจะขอยอมแพ้เอง

 ศิลปะการต่อสู้ของไทย

        เป็นเอกลักษณ์เพียงหนึ่งเดียวของไทย ที่ไม่เหมือนชาติใด ถึงอาจจะมีคล้ายอยู่บ้างกับทางเพื่อนบ้านประเทศแถบใกล้ๆ แต่ความเป็นจริงแล้ว เรายังมีศาสตร์การต่อสู้หรือท่วงท่าอีกมากมายที่ถูกคิดค้นโดยบรรพบุรุษของคนไทยเราเองอย่างแท้ๆ ก็อย่างที่รู้กันดีในยุคปัจจุบัน มวยไทย ได้สร้างปรากฏการของความนิยมมากมายให้แก่ชาวโลก จนต่างชาติก็แห่เข้ามาร่ำเรียนฝึกฝนมวยไทยกันอย่างมากมายและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นทุกปีๆ  และถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะกีฬาชนิดนี้นอกจากจะสร้างรายได้ให้แก่นักมวยเองแล้ว ก็ยังสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นกอบเป็นกำอีกด้วย และสิ่งที่น่าภูมิใจอีกอย่างของคนไทยก็คือ ในปี พ.ศ.2557 สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ (IFMA) ได้มีการผลักดันมวยไทยให้เข้าสู่ กีฬาโอลิมปิก อีกด้วย ยอดมากๆ